วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2


วันพุธ 13 พฤศจิกายน  2556






   การเรียนการสอนวันนี้  อาจารย์เปิด power point เกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และอธิบายความหมาย ความสำคัญ ทฤษฏีพัฒนาการของเพียเจต์  การอนุรักษ์ และหลักการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยให้นักศึกษาฟัง

                                                     คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 

           ความมหมาย

         เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ในเชิงปริมาณ  โดยใช้ ภาพ  สัญลักษณ์  การพูด  การเขียน และเป็นการเรียนรู้เพื่อเข้าใจใน จำนวน  ตัวเลข การคิดคำนวณ 

           ความสำคัญ


- เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน

- เป็นเครื่องมือในการสำรวจข้อมูล 

- ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหา โดยอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์

- เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ของวิชาต่างๆ โดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

            ทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเพียเจต์


 1.  ขั้นประสาทสัมผัส     (แรกเกิด -2 ปี)

- เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัสต่างๆ
- สามารถจดจำสิ่งต่างๆ บอกคุณลักษณะได้

2.  ขั้นเตรียมการความคิดมีเหตุผล     (2-7 ปี)

- ใช้ภาษาพูดแสดงความรู้ ความคิด
- เริ่มรู้จักคำที่บอก ขนาด  น้ำหนัก รูปทรง ความยาว ได้
- เล่นบทบาทสมมติ  เข้าใจในนามธรรมมากขึ้น  เช่น จำนวน  ตัวอักษร คำที่มีความหมาย
-เห็นตามที่สังเกต
-ไม่สามารถคงความคิดไว้สภาพเดิม เมื่อสภาพทางกายภาพเปลี่ยนแปลงไป

       การอนุรักษ์  


พัฒนาการอนุรักษ์  ได้แก่

 1. โดยการนับ
 2. จับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง
 3. การเปรียบเทียบรูปทรง  ปริมาตร
 4. เรียงลำดับ
 5. จัดกลุ่ม


                           หลักการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

- เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดกัน อธิบายและสำรวจความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์ โดยผ่านวัตถุและสื่ออุปกรณ์
- ผสมผสานคณิตศาสตร์กับการเล่นและกิจกรรมที่มีการลงมือปฏิบัติ
- ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ  สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
- ใช้คำถามปลายเปิด
- เชื่อมโยงการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน


       กิจกรรมในวันนี้ คือ  ให้วาดรูปสัตว์อะไรก็ได้ที่มีขาเยอะๆ เมื่อวาดเสร็จอาจารย์ค่อยบอกให้ตัดรองเท้าใส่ให้สัตว์ที่เราวาดด้วย






ความรู้ที่ได้รับ  เข้าใจความหมายความสำคัญและได้รู้ว่าการอนุรักษ์คืออะไร เด็กจะตัดสินทุกอย่างตามที่ตาเห็นนั่นเอง คือการอนุรักษ์ จากกิจกรรมที่ได้ทำก็สอดคล้องกับการเรียนคณิต เช่น การตัดรองเท้าให้พอดีกับจำนวนขา ซึ่งก็ต้องใช้การนับเป็นหลัก








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น